วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เมนบอร์ด


เมนบอร์ดคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

เมนบอร์ดคืออะไร

นับตั้งแต่ได้มีการคิดค้นเครื่องpcขึ้นมา ก็ปรากฏเจ้าแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ ที่รวบรวมเอาชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์
ที่สำคัญๆเข้ามาไว้ด้วยกัน เจ้าแผ่นวงจรไฟฟ้านี้ก็มีชื่อเรียกว่า เมนบอร์ด(MainBoard)หรือมาเธอร์บอร์ด(Motherboard)
หรือ ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็จะเรียกว่าแผงวงจรหลัก ซึ่งเมนบอร์ดนี้เองที่เป็นส่วนควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
ภายในpcทั้งหมด เมนบอร์ดนี้จะมีลักษะณะเป็นแผ่นรูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นใหญ่ที่สุดในพีซีที่จะรวบรวมเอาชิปและไอซี
(IC-Integrated circuit)รวมทั้งการ์ดต่อพ่วงอื่นๆเอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงแผ่นเดียว เครื่องพีซีทุเครื่องไม่
สามารถทำงานได้ถ้าขาดเมนบอร์ด 
ความสำคัญของเมนบอร์ด

ชิ้นสวนคอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น โปรเซสเซอร์, หน่วยความจำ, ฮาร์ดดิสก์, ออปติคัลไดรฟ์ และเอ็กซ์แพนชั่นการ์ด จำเป็นต้องติดตั้งลงบนเมนบอร์ด เมนบอร์ดนั้นมีความสำคัญมากเกี่ยวกับเสถียรภาพของระบบ และยังมีผลกระทบกับข้อมูลจำเพาะขององค์ประกอบที่สามารถใช้ได้ และสมรรถนะของระบบด้วย
 

หน้าที่ของเมนบอร์ด


	แผงวงจรหลักก็เหมือนกับพื้นที่ชุมชน เส้นทางการคมนาคมศูนย์ควบคุมการ
จราจร โดยมีกฎหมายว่าด้วยการประมวลผลของคอมพิวเตอร์เป็นตัวบทกฎหมายหลักและ
ถูกสร้างขึ้นด้วยทฤษฎีการทำงานของคอมพิวเตอร์เราจะแนะนำส่วนประกอบแต่ละส่วน
ของเมนบอร์ด ว่าประกอบด้วยส่วนประกอบใดบ้างเมนบอร์ด ถึงแม้จะทำงานเหมือนกัน 
หลักการทำงานเดียวกัน แต่หน้าตาและส่วนประกอบของเมนบอร์ด ถึงแม้จะทำงานเหมือน
กัน หลักการทำงานเดียวกัน แต่หน้าตาและส่วนประกอบของเมนบอร์ดนั้นอาจจะมีหลาก
หลายแตกต่างไปตาม แต่ผู้ผลิตแต่ละแต่ราย และแตกต่างไปตามเทคโนโลยี เพราะ 
เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างเมนบอร์ดแบบ ATX, Micro ATX, AT ทำให้ตำแหน่งการติดตั้ง
อุปกรณ์ การวางส่วนประกอบต่างๆ การทำงานต่างของเมนบอร์ดแตกต่างกันออกไป

ชนิดของเมนบอร์ด


	สามารถแบ่งเมนบอร์ดออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่คือเมนบอร์ดแบ่งตาม
โครงสร้างและเมนบอร์ดแบ่งตามช็อคเก็ตใส่ซีพียู
เมนบอร์ดแบ่งตามโครงสร้าง

	เมนบอร์แบ่งตามโครงาร้างเรียกว่า Form Factors หมายถึง การจำแนก
เมนบอร์ดเป็นชนิดต่างๆตามลักษณะโครงสร้าง ขนาดและรูปร่าง ตามมาตรฐานแล้วจะ
มีแบบ AT และ ATX แต่ทั้งนี้เมนบอร์ดแบบATXก็ยังแบ่งย่อยออกไปอีกหลายรูปแบบ
ได้แก่ Micro ATX และ Flex ATX ซึ่งแต่ละแบบมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไป

         	 	          
	     เมนบอร์ดแบบ AT             		 เมนบอร์ดแบบ ATX
ชนิดเมนบอร์ดลักษณะโครงสร้าง
AT
เป็นเมนบอร์ดที่มีความกว้างและยาวใกล้เคียงกันจึงมีลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าแต่สิ่งที่ทำให้
เมนบอร์ดแบบนี้ต่างจากแบบATXคือขั้วรับไฟจะมีเพียง12 ขาต่างจากแบบ ATX จะมีขั้วรับไฟ
20 ขา ดังนั้นเมนบอร์ดชนิดนี้จึงต้องใช้กับแคสที่เป็นเมนบอร์ดแบบ AT ด้วยเช่นกันโดยทั่วไป
เมนบอร์ดแบบนี้จะถูกกว่าแบบATX เล็กน้อยการปิดเครื่องผ่านแบบนี้ใช้สวิทส์เป็นตัวควบคุมไม่
สามารถปิดเครื่อง ทางปุ่มบนคีย์บอร์ดหรือสั่ง Shutdown ผ่านทาง Window ได้
ATX
เป็นเมนบอร์ดมาตรฐานใหม่ ซึ่งอินเทลเป็นผู้กำหนดขึ้นมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาว
มากกว่าส่วนกว้าง แต่ขนาดเล็กกว่าแบบ AT เมนบอร์ดชนิดนี้ได้รับการออกแบบมาให้ซีพียูและ
หน่วยความจำอยู่ใกล้กันซึ่งทำให้ทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีตลอดจน ซีพียูถูกวางอยู่ใกล้กับ
พัดลมระบายความร้อน จึงระบายความร้อนได้ดีขึ้นนอกจากนี้ยังได้กำหนดตำแหน่งและสีของ
ช่องสำหรับต่ออุปกรณ์ไว้ต่างกัน เพื่อให้จำได้ง่ายและเป็นมาตรฐานเดียวกันรวมทั้งสามารถที่จะ
สั่งปิดเครื่องจากวินโดว์ได้โดยไม่ต้องกดปุ่มปิดเครื่องเองแต่เมนบอร์ดชนิดนี้ต้องใช้กับตัวเคส
ชนิด ATX เหมือนกันเท่านั้น
Micro ATX
มีลักษณะรูปร่างทั่วไปจะเหมือนกับเมนบอร์ดแบบATX แต่ได้ลดจำนวนสล็อตลงเหลือเพียง
3-4สล็อตเพื่อให้ราคาจำหน่ายถูกลงแหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ต้องการเสียบการ์ด เพื่อเติมต่างๆบน
สล็อตมากนัก
flex ATX
เป็นเมนบอร์ดแบบATX ที่มีขนาดเล็กที่สุด ใช้ประกอบกับเครื่องขนาดเล็กเพื่อประหยัดเนื้อที่ 
เมนบอร์ดชนิดนี้มักมีอุปกรณ์ Onboard เช่น การ์ดจอ การ์ดเสียงและการ์ดโมเด็มมาด้วยแล้ว
จึงมีสล็อตติดตั้งบนเมนบอร์ดเพียง 2 สล๊อตเท่านั้น

เมนบอร์ดแบ่งตามช็อคเก็ตใส่ซีพียู
	
	เมนบอร์ดแบบนี้ถูกออกแบบมารองรับกับการใช้งานซีพียูแต่ละรูปแบบ โดย
เฉพาะเนื่องจากซีพียูในปัจจุบันมีรูปแบบและโครงสร้างไม่เหมือนกัน ซ็อคเก็ตใส่ซีพียูจึง
ไม่เหมือนกันไปด้วย แต่ข้อแตกต่างที่กล่าวมานี้เกิดจากชิปเซ็ตเป็นตัวกำหนด เมนบอร์ด
ที่ใช้ชิบเซ็ตชนิดเดียวกันจะมีคุณสมบัติและความสามารถเหมือนกันสำหรับเมนบอร์ดใน
ปัจจุบันที่ยังนิยมใช้กันสามารถแบ่งตามซ็อคเก็ตใส่ซีพียูได้ดังนี้คือ แบบSocket 7,
Socket 370,Socket A,Slot A,Slot 1 สำหรับเมนบอร์ดแบบ Slot 2 ซึ่งเป็นของ
อินเทลที่ใช้สำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และเมนบอร์ดแบบSocket 3,4,5 ซึ่งเป็นเมนบอร์ด
รุ่นเก่าในปัจจุบันไม่มีการผลิตเพิ่มแล้ว

  	                            
             เมนบอร์ดแบบslot1                          เมนบอร์ดแบบ socket7                      เมนบอร์ดแบบ socket370
ชนิดเมนบอร์ดซีพียู/รุ่นที่ใช้จำนวนขาชนิดแพ็คเก็ต
Socket 7
Pentium ผลิตรุ่นหลังPentium mmxAMD K5,K6-2 
Cyrix6x86,M ll.

296/321

PPGA
Socket 370
Pentium III (coppermine)  รุ่นความเร็วไม่เกิน 600 MHz 
Celeron (รุ่นใหม่) AMD Cyrix III

370

PPGA Micro PGA 
FC-PGA PPGA
Socket A
AMD Thunderbird (Athlon รุ่นใหม่) AMD Duron

462

PPGA
Slot A
AMD Athlon (รุ่นเก่า)
 
246(2แถว)

SECC (AMD)
Slot 1
Pentium III (coppermine) รุ่น 600 MHz ขึ้นไป

246(2แถว)

SECC -แบบ 242 พิน


ระบบบัสและสล็อตของเมนบอร์ด


	ความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์  ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็วของซีพียู
แต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากข้อมูลและคำสั่งจะต้องผ่านไปมาระหว่างอุปกรณ์ต่างๆบน
เมนบอร์ดและอุกรณ์ภายนอกเครื่องโดยอาศัยบัสเป็นช่องทางเดิน บัสที่ดีจะต้องเร็วพอ
ที่จะยอมให้กับอุปกรณ์อื่นๆรับและส่งข้อมูลผ่านไปได้ด้วยความเร็วเต็มที่ของอุปกรณ์นั้น 
เพื่อที่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาคอขวดในการส่งผ่าข้อมูล
	อุปสรรค์ของการพัฒนาระบบบัสคือ ข้อมูลของคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะ
เป็นสัญญาณดิจิตอลซึ่งอาจผิดเพี้ยนได้ง่ายเมื่อบัสมีความเร็วสูง หรือด้วยระยะทางที่
ยาวและวกวนของเมนบอร์ดดังนั้นระบบบัสในปัจจุบันจึงมีความเร็วเพียง66-133MHz
ซึ่งนับว่าช้ามากเมื่อเทียบกับความเร็าของซีพียูทำให้ปัจจุบันซีพียูมีความเร็วเกินกว่า
1000MHz หรือ 1GHz แล้ว ดั้งนั้นระบบบัสแบบใหม่จึงแบ่งความเร็วออกเป็น2-4ชุด
เพื่อการทำงานกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วต่างกัน

     

	เนื่องจากการติดต่อระหว่างกับอุปกรณ์ต่างภายในคอมพิวเตอร์ต้องอาศัย
ระบบบัส เพื่อให้เข้าใจถึงการทำงานของระบบบัสโดยมีการพัฒนาเป็นลำดับดังนี้

	AT-Bus
	AT-Busเป็นบัสที่พัฒนาขึ้นมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ซีพียู 
8088 มีความเร็ว8MHz แบบ16 บิต บัสชนิดนี้ซีพียูจะเป็นผู้ควบคุมการใช้บัส ถ้า
อุปกรณ์ในระบบตัวใดต้องการใช้งานบัสจะต้องส่งคำขอขัดจังหวะไปยังซีพียูทำให้
เสียเวลาในการติดต่อกับซีพียู ระบบจึงมีความเร็วต่ำ เช่นโมเด็มการ์ดเสีย และการ์ดแลน

	EISA และ MCA 
	MCA โดยแบ่งให้อุปกรณ์แต่ละชนิดสามารถที่จะใช้บัสได้โดยเท่าเทียมกันไม่
ต้องขอผ่านซีพียู  โดยแบ่งให้อุปกรณ์แต่ละชนิดสามารถที่จะใช้บัสโดยเท่าเทียมกันไม่
ต้องขอผ่านซีพียู โดยมีวาจรควบคุมชุดหนึ่งบัสชนิดนี้มีความเร็ว10 MHz แต่เนื่องจาก
ไม่สามารถใช้กับการ์ดรุ่นเก่าได้จึงไม่เป็นที่นิยม
	ต่อมาได้เกิดระบบบัสแบบใหม่คือ Extended ISA หรือEISA ซึ่งมีคุณ
สมบัติเช่นเดียวกับ MCAและสามารถใช้กับการ์ดรุ่นเก่าได้ แต่มีความเร็วเพียง8 MHz

	VL-Bus
	เนื่องจากในระยะต่อมามีการใช้โปรแกรมที่เป็นกราฟฟิคหรือ Gui
 (Graphics User Interface) จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจำนวนมากในการแสดงผล
กราฟฟิคบนหน้าจอแต่ละบัสแบบเก่าที่มีความเร็วต่ำไม่เพียงพอ จึงเกิดมีกลุ่มที่เรียกว่า
 VESA (Video Electronics Standard Association) ได้เสนอระบบที่มีการติดต่อ
ระหว่างซีพียูกับการ์ดแสดงผลโดยตรง เพื่อให้การ์ดแสดงผลมีความเร็วใกล้เคียงซีพียู
เพิ่มมากขึ้น จึงเกิดความนิยมใช้กันมาก ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นเวอร์ชั่น2 แต่ยังไม่ทัน
ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย ก็มาถูกแทนที่ด้วยระบบบัสแบบใหม่

	PCI
	เป็นระบบบัสแบบใหม่มาแทนที่ VL-bus ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท Intel ในปี 
1993 เรียกว่า Peripheral Component Interconnect โดยจะมีชิปเซ็ตที่เป็นวงจร
สำหรับควบคุม บัสโดยเฉพาะทำให้ความเร็วในการติดต่อของอุปกรณ์ต่างๆ สูงขึ้น โดย
มีมาตรฐานความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 33 MHz 

ปัจจุบันความเร็วของบัส PCI ผันแปรเป็นสัดส่วนกับความเร็วของ System bus เช่น ถ้าต้องการความเร็วเป็น 66MHz ความเร็ว PCI จะเท่ากับครึ่งหนึ่ง คือ 33MHz ถ้าเป็นบัส100MHz ก็จะหาร 3 หรือถ้าเป็น บัส133MHz จะหาร 4 ดังนั้นความเร็วของ PCI จะไม่สูงเกินไป ซึ่งจะทำให้ การ์ดต่อเพิ่มที่เสียบอยู่กับสล็อตและบัสชนิดนี้ สามารถทำงานได้เป็นปกติ AGP ในระบบบัสความเร็วสูงที่เรียกว่า Accelerated Graphic Port Intel มี การพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ ที่ต้องการใช้ข้อมูลในการประมวล ผลภาพเคลื่อนไหว และภาพ 3 มิติสูงมาก บัสชนิดนี้พัฒนาโดยบริษัท PCI คือ 66MHz เนื่องจากบัสชนิดนี้มีการส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากและต้องการความเร็วที่สุดจึงต้องวาง ไว้ใกล้กับซีพียู ส่วนมากบนเมนบอร์ดจะมีสล็อตชนิดนี้เพียงชนิดเดียว

ชิปเซ็ต (Chipset)


	ชิปเซ็ตเป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งบนเมนบอร์ด ซึ่งชิปเซ็ตแต่ละยี่ห้อ 
แต่ละรุ่น จะมีคุณสมบัติควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างกัน ซึ่งบริษัทที่ผลิตซีพียูออก
มาจำหน่ายอย่าง Intel และ AMD มักจะผลิตชิปเซ็ตออกมาเพื่อรองรับซีพียูของตนเอง
ด้วยในปัจจุบันนี้ผู้ผลิตชิปเซ็ต มักจะรวมเอาส่วนการแสดงผลกราฟฟิคเข้าไปด้วย เพื่อ
จำหน่ายให้กับ OEM ที่ต้องการประกอบเครื่องขายในราคาถูกเช่น Intel ซึ่งได้รวมเอา
วงจรแสดงผลกราฟฟิครุ่น i860 รวมเข้าไว้กับชิปเซ็ต i815 หรือ SiS ได้รวมเอาวงจร
แสดงผลกราฟฟิครุ่น SiS 530,620,6326 เข้าไว้กับชิปเซ็ต SiS เป็นต้น ชิปเซ็ตรุ่นใหม่
มักจะมาเพื่อรองรับในการทำงานกับหน่วยความจำแบบใหม่คือ DDR SDRAM ซึ่งมี
ความเร็วในการทำงานสูงกว่า SD RAM ถึงกว่าเท่าตัว 

ชิปรอมไบออสและแบตเตอรี่แบ็คอัพ


	ไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส 
(CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลและโปรแกรมขนาดเล็กที่
จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ โดยในอดีต ส่วนของชิพรอมไบออสจะ
ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชิพไบออส และชิพซีมอส ซึ่งชิพซีไบออสจะทำหน้าที่ เก็บข้อมูล
พื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนชิพซีมอสจะทำหน้าที่ เก็บ
โปรแกรมขนาดเล็ก ที่ใช้ในการบูตระบบและสามารถเปลี่ยนข้อมูลบางส่วนภายในชิพได้ 
ชิพไบออสใช้พื้นฐานเทคโนโลยีของรอม ส่วนชิพซีมอสจะใช้เทคโนโลยีของแรมดังนั้น
ชิพไบออสจึงไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ในการเก็บรักษาข้อมูล แต่ชิพซีมอสจะ
ต้องการพลังงานไฟฟ้าในการเก็บรักษาข้อมูลอยตลอดเวลาซึ่งพลังงานไฟฟ้าก็จะมา

			แบตเตอรี่แบ็ตอัพ

จากแบตเตอรี่แบ็คอัพที่อยู่บนเมนบอร์ด(แบตเตอรี่แบ็คอัพจะมีลักษณะเป็นกระป๋องสีฟ้า
หรือเป็นลักษณะกลมแบนสีเงิน ซึ่งภายในจะบรรจุแบตเตอรี่แบบลิเธี่ยมขนาด3 โวลต์ไว้) 
แต่ต่อมาในสมัย ซีพียูตระกูล 80386 จึงได้มีการรวมชิพทั้งสองเข้าด้วยกัน และเรียกชื่อ
ว่าชิพรอมไบออสเพียงอย่างเดียว และการที่ชิพรอมไบออสเป็นการรวมกันของชิพ
ไบออสและชิพซีมอส จึงทำให้ข้อมูลบางส่วนที่อยู่ภายใน ชิพรอมไบออส ต้องการ
พลังงานไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลไว้ แบตเตอรี่แบ็คอัพ จึงยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอยู่จนถึง
ปัจจุบัน จึงเห็นได้ว่าเมื่อแบตเตอรี่แบ็คอัพเสื่อมหรือหมดอายุแล้วจะทำให้ข้อมูลที่คุณ
เซ็ตไว้เช่น วันที่ จะหายไปกลายเป็นค่าพื้นฐานจากโรงงาน และก็ต้องทำการเซ็ตใหม่ทุก
ครั้งที่เปิดเครื่อง เทคโนโลยีรอมไบออสในอดีต หน่วยความจำรอมชนิดนี้จะเป็นแบบ 
EPROM (Electrical Programmable Read Only Memory) ซึ่งเป็นชิพหน่วย
ความจำรอมที่สามารถบันทึกได้โดยใช้แรงดันกระแสไฟฟ้าระดับพิเศษ ด้วยอุปกรณ์ 
ที่เรียกว่าBurst ROM และสามารถลบข้อมูลได้ด้วยแสงอุตราไวโอเล็ต ซึ่งคุณไม่
สามารถอัพเกรดข้อมูลลงในไบออสได้ด้วยตัวเองจึงไม่ค่อยสะดวกต่อการแก้ไขหรือ
อัพเกรดข้อมูลที่อยู่ในชิพรอมไบออส แต่ต่อมาได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีชิพรอมขึ้นมา
ใหม่ ให้เป็นแบบEEPROMหรือ E2PROM โดยคุณจะสามารถทั้งเขียน และลบข้อมูล
ได้ด้วยกระแสไฟฟ้าโดยใช้ซอฟต์แวร์พิเศษ ได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดายดังเช่นที่เรา
เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

จัมเปอร์และดิพสวิทช์


	      ดิพสวิทช์ 	 จัมเปอร์
		
	เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตั้งค่าต่างๆบนเมนบอร์ดโดยจัมเปอร์จะเป็นพลาสติกสี่เหลี่ยม
อันเล็กภายในมีวงจรโลหะใช้สำหร็บเสียบลงไปบน Pinซึ่งเป็นขาโลหะแหลมเล็กอยู่บน
เมนบอร์ดเพื่อเชื่อมต่อวงจรเข้าด้วยกันตามที่กำหนดไว้บนคู่มือเมนบอร์ด ส่วนดิพสวิทช์
เป็นแผงสี่เหลี่ยมพลาสติกที่ประกอบด้วยสวิทช์ขนาดเล็กอยู่ภายในเรียงกันเป็นสองแถว
คล้ายกับไอซีตัวเล็กๆ นั้นเองจึงมีชื่อว่า "DIP"ซึ่งย่อมาจากคำว่า Daul In-line Package 
สำหรับหน้าที่ของจัมเปอร์และดิพสวิทช์นั้นมีดังนี้

	- ใช้ตั้งค่าเร็วระบบบัสหรือ FSB (Front Side Bus)
	- ตั้งค่าอัตราตัวคูณสัญญาณนาฬิกาภายในตัวซีพียู
	- สำหรับปรับแรงดันไฟเลี้ยงที่ป้อนให้กับซีพียูในแต่ละยี่ห้อและต่างความถี่
	- เพื่อล้างค่าที่บันทึกไว้ในซีมอสหรือเรียกว่า "Clear CMOS"

	การกำหนดจัมเปอร์และดิพสวิทช์	
	ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่มักไม่ต้องทำการตั้งค่าโดยใช้จัมเปอร์ และดิพสวิทช์ เนื่อง
จากจะมีการตั้งคาแบบอัตโนมัติหรือตั้งค่าเองในเมนูไบออสของเครื่อง ไม่ต้องทำการ
ถอดฝาเคสเปิดเครื่องเพื่อตั้งค่าให้ยุ่งยากอีก โดยสามารถตั้งค่าได้ทั้งตัวคูณสัญญาณ
นาฬิกา ความเร็วระบบบัสหรือแรงดันไฟที่จ่ายไฃให้กับซีพียู ซึ่งเรียกเมนบอร์ดชนิดนี้ว่า
"jumperless" แต่สำหรับเมนบอร์ดบางรุ่นเราอาจต้องทำการกำหนดค่าต่างๆ เอง
ได้แก่ ติดตั้งจัมเปอร์เพื่อบอกชนิดของ RAM จำนวนแถวของ RAM หรือแรงดันไฟ
ที่จ่ายให้กับ RAM แต่ละชนิด ในส่วนของซีพียูที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดก็อาจจะมีดิพสวิทช์
จำนวน 1-2ชุดเพื่อกำหนดความเร็วบัสและตัวคูณสัญญาณนาฬิกาภายในซีพียู ซึ่งบาง
เมนบอร์ดมีอุปกรณ์ประเภทOnboard ติดตั้งด้วยเช่น VGA,Sound,MODER หรือ 
LAN ก็จะมีจัมเปอร์ไว้ด้วยเพื่อกำหนดให้ใช้คุณสมบัตินี้หรือไม่คือEnable หรือ 
Disable

พอร์ตและคอนเน็คเตอร์


	พอร์ตและคอนเน็คเตอร์ เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างตัว
คอมพิวเตอร์ กับอุปกรณ์ภายนอก ในคอมพิวเตอร์มีอยู่หลายชนิด ปกติพอร์ตจะอยู่
ด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้แก่

	      

	พอร์ตPS/2
	เป็นพอร์ตทรงกลมขนาดเล็กที่เรียกว่า Mini - Din มีขาจำนวน 6 ขา ใช้
สำหรับต่อกับเมาส์แบบPS/2 บนเมนบอร์ดแบบATX แต่ในเมนบอร์ตแบบAT รุ่นใหม่
ก็มีพอร์ดชนิดนี้ติดมาด้วยเช่นกัน สำหรับผู้ที่ต้องการนำเมาส์แบบ Serial มาใช้กับ
พอร์ต PS/2 ก็สามารถทำได้โดยการใช้อะแดปเตอร์แปลงจากหัวต่อรูปตัว"D" เป็น
หัวต่อแบบDinเล็ก

	พอร์ตคีย์บอร์ด
	ใช้ต่อกับคีย์บอร์ด ซึ่งในปัจจุบันมักเป็นหัวต่อขนาดเล็ก เช่นเดียวกับ
เมาส์แบบ PS/2 มีขาสัณญาณ 6 ขาสำหรับต่อกับเมนบอร์ดแบบ ATX ส่วนคีย์บอร์ด
ที่มีหัวต่อใหญ่จะใช้ต่อกับเมนบอร์แบบAT จะมีขาสัณญาณ 5 ขา ซึ่งในปัจจุบันไม่นิยม
ใช้กันแล้ว แต่ผู้ที่ต้องการนำคีย์บอร์ดชนิดนี้ไปใช้กับเมนบอร์ดแบบATX รุ่นใหม่ที่มี
ขั้วต่อแบบDin เล็ก สามารถทำได้โดยการใช้อะแดปเตอร์สำหรับแปลงขั้วต่อจากหัว
ใหญ่เป็นหัวเล็ก ซึ่งมีราคาไม่แพง

	พอร์ตUSB
	พอร์ตยูเอสบี เป็นพอร์ตแบบใหม่ล่าสุด ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับพีซี
คอมพิวเตอร์ ให้สามารถรับส่งข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น สามารถต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 
127 ชิ้น เพราะมีแบนด์วิดธ์ในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า พอร์ตแบบนี้ถูกออกแบบมา
ให้ใช้กับระบบปลั๊กแอนด์เพลย์บนวินโดวส์ 98 ปัจจุบัน มีฮาร์ดแวร์จำนวนมากที่สนับ
สนุนการเชื่อมต่อแบบนี้ เช่น กล้องดิจิตอล เมาส์ คีย์บอร์ด จอยสติ๊ก สแกนเนอร์ ซีดี
อาร์ดับบลิวเป็นต้น สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จะมีพอร์ตแบบนี้จะมีพอร์ตแบบนี้
อยู่ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว 
	- คอมพิวเตอร์ปกติจะมี 2 USB Port ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าที่ไม่มี USB 
สามารถหาซื้อการ์ด USB มาติดตั้งได้ 
	-เป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สูงประมา 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-2 
เซ็นติเมตร 
	- พอร์ตชนิดใหม่รับส่งความเร็วได้สูงกว่า port ทั่ว ๆ ไป 
	- สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อเนื่องได้ 127 ตัว 
	- เป็นมาตราฐานใหม่ที่มีมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ 
	- การติดตั้ง เพียงต่ออุปกรณ์เข้ากับ USB port ก็สามารถใช้งานอุปกรณ์
นั้นๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องboot เครื่องใหม่

	พอร์ตอนุกรม (Serial Port)  
	เป็นพอร์ตสำหรับต่อกับอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต โดยส่วนใหญ่เราจะใช้
สำหรับต่อกับเมาส์ในกรณีที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นไม่มีพอร์ต PS/2 หรือเป็นเคสแบบ 
AT นอกจากนั้นเรายังใช้สำหรับเป็นช่องทางการติดต่อโมเด็มด้วย ในคอมพิวเตอร์หนึ่ง
เครื่องจะมีพอร์ตอนุกรมให้อยู่สองพอร์ต เรียกว่าพอร์ตคอม1และพอร์ตคอม 2 นอก
จากนั้นอาจจะมีฮาร์ดแวร์บางตัว เช่น จอยสติ๊กรุ่นใหม่ ๆ มาใช้พอร์ตอนุกรมนี้เช่นกัน 
	- พอร์ตอนุกรมจะมีหัวเข็ม 9 เข็ม หรือ 25 เข็ม (พอร์ตนี้จะเป็นตัวผู้ 
เพราะมีเข็มยื่นออกมา) 
	- พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เมาส์ โมเด็ม สแกนเนอร์ เป็นต้น 
	- สามารถต่อความยาวได้ถึง 6 เมตร และราคาสายก็ไม่แพงนัก

	พอร์ตขนาน (Parallel Port) 
	หน้าที่ของพอร์ตตัวนี้ก็คือใช้สำหรับติดต่อกับเครื่องพิมพ์เป็นหลัก ปัจจุบัน
มีการพัฒนาให้สามารถใช้งานร่วมกับสแกนเนอร์ หรือว่าไดร์ฟซีดีอาร์ดับบลิวได้ด้วย 
พอร์ตแบบนี้มีขนาดยาวกว่าพอร์ตอนุกรมทั่ว ๆ ไปโดยมีจำนวนพินเท่ากับ 25 พิน
สังเกตได้ง่าย 
	- พอร์ตขนานจะมีรู 25 รู (พอร์ตนี้จะเป็นตัวเมีย หมายถึงมีรูที่ตัวพอร์ต) 
	- พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เทปไดร์ฟ สแกนเนอร์
เป็นต้น 
	- สามารถต่อความยาวไม่มากนัก แถมมีราคาแพงกว่าสายของพอร์ตอนุกรม
ด้วย 
	- การส่งสัญญาณจะส่งได้เร็วกว่าพอร์ตอนุกรม

	วีจีเอ พอร์ต (VGA Port) 
	พอร์ตนี้สำหรับต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับมอนิเตอร์ เป็นพอร์ตขนาด 15 พิน
ในคอมพิวเตอร์บางเครื่องอาจจะติดตั้งการ์ดสำหรับถอดรหัสสัญญาณ MPEG เพิ่ม
เข้ามาซึ่งลักษณะของพอร์ตนั้นจะคล้าย ๆ กันแต่การ์ดMPEG จะมีพอร์ตอยู่สองชุดด้วย
กันสำหรับเชื่อมไปยังการ์ดแสดงผลหนึ่งพอร์ต และต่อเข้ากับมอนิเตอร์อีกหนึ่งพอร์ต 
ดังนั้นเครื่องใครที่มีพอร์ตแบบนี้ ก็ควรจะบันทึกไว้ด้วย เพราะไม่งั้นอาจจะใส่สลับกัน 
จะทำให้โปรแกรมบางตัวทำงานไม่ได้

	พอร์ตมัลติมีเดีย(Multimedia Port)
	ปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง มักจะติดตั้งการ์ดเสียงมาให้ด้วย ซึ่งการ์ด
นี้จะมีช่องสำหรับต่อกับลำโพงไมโครโฟน และพอร์ตสำหรับต่อกับจอยสติ๊กอยู่ในตัวโดย
พอร์ตต่าง ๆ นั้นจะใช้สีแสดงหน้าที่การทำงาน เช่นช่องสำหรับต่อลำโพงจะใช้แจ๊คสีเขียว
ส่วนไมโครโฟนจะแทนที่ด้วยสีแดง และสีอื่น ๆ สำหรับแทนที่ Line In และ Line Out 
นอกจากนั้นการ์ดเสียงรุ่นราคาถูก อาจจะไม่ใช้สีแสดงการทำงานของแจ๊คแต่ละตัว แต่จะ
มีสัญลักษณ์แสดงการทำงานสลักติดอยู่แทน 

อุปกรณ์ประเภท Onboard


		เมนบอร์ดบางรุ่น เช่น เมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ตของ i810 ของ Intel
ที่ได้รวมเอาส่วนแสดงผลกราฟฟิคไว้ในตัว ส่วนเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ตของ SiS มักจะมี
ส่วนแสดงผลกราฟฟิค เสียง โมเด็มและLAN เป็นอุปกรณ์onboard อยู่ในตัว โดยมี
ลักษณะเป็นการ์ดมีสายสัญญาณต่อออกมาสำหรับเสียบเข้ากับคอนเน็คเตอร์บน
เมนบอร์ด แต่ก่อนจะใช้คุณสมบัติอุปกรณ์ onboard ประเภทนี้ได้ต้องทำการเปิดค่า
การใช้ให้เป็น onหรือ enable เสียก่อน แต่ถ้าเกิดต้องการซื้ออุปกรณ์ประเภทนี้มาเสียบ
เพิ่มเองก็ให้ปิดค่าการใช้เป็นoff หรือdisable เสียบสำหรับการกำหนดค่าอาจเป็นจัมเปอร์
หรือตั้งค่าในเมนูไบออสขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนบอร์ด

	การ์ดจอ On Board
	การ์ดจอ On Board มีลักษณะเป็นการ์ดต่อเพิ่มมีสายสัญญาณจำนวน15Pin 
สำหรับเสียบต่อกับคอนเน็คเตอร์บนเมนบอร์ดเป็นการ์ดที่มักจะมีในเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ต 
i810 และชิปเซ็ตรุ่น SiS620 ,SiS630 และSiS640 ของ SiS การเสียบให้นำสาย
สัญญาณขาที่ 1 เสียบให้ตรงกับขั้วคอนเน็คเตอร์ขาที่ 1 จุดสังเกตขาที่ 1 ของสาย
สัญญาณจะมีสีแดง ส่วนขาที่ 1 ของคอนเน็คเตอร์บนเมนบอร์ดจะมีตัวเลขกำกับอยู่บน
เมนบอร์ด 

	การ์ดเสียง On Board 
	มีชื่อเรียกว่า Audio Ports and Game/MIDI Port Extension 
Bracket เป็นการ์ดต่อเพิ่มที่มีอยู่กับเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ตของ SiS ที่ด้านหลังการ์ดนี้
จะมีช่องต่อ line in, line out, microphone และ port game เช่นเดียวกับการ์ด
เสียงทั่งไป ส่วนสายสัญญาณของการ์ดนี้มีจำนวน 25 Pin การเสียบต่อบนเมนบบอร์ด
ให้นำขาของสายเส้นที่1 เสียบกับขาคอนเน็คเตอร์ขาที่1 ของเมนบอร์ด จุดสังเกตคือ 
ขาที่1 ของสายสายสัญญาณจะมีสีแดงตลอดเส้นส่วนคอนเน็คเตอร์ขาที่1 จะมีตัวกำกับ
อยู่บนเมนบอร์ด

	การ์ดโมเด็ม On Board
	การ์ดโมเด็ม On Board หรือ Fax/Modem Module มักจะติดกับมากับ
เมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ตของ SiS มีลักษณะเป็นโมดูล 16 Pin สำหรับเสียบลง
คอนเน็คเตอร์บนเมนบอร์ดด้านหลังการ์ดนี้ช่องต่อสำหรัยบสายโทรศัพท์บ้านเข้าคอม 
และอีกช่องต่อหนึ่งสำหรับต่อไปยังเครื่องรับโทรศัพท์

	การ์ดเครือข่าย On Board
	การ์ดเครือข่าย On Board มักจะมีติดมากับเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ตของ 
SiS ลักษณะเป็นการ์ดต่อเพิ่มมีสายสัญญาณ 9 ขา สำหรับเสียบกับคอนเน็ตเตอร์บน
เมนบอร์ดโดยการเสียบต้องให้ขาที่1 ตรงกันเหมือนกับการเสียบการ์ด On Board
อื่นๆหลังจากนั้นให้ขันยึดน็อตเพื่อยึดตัวการ์ดเข้ากับท้ายเคส

อุปกรณ์เสริมอื่นๆ บนเมนบอร์ด


	เนื่องจากอุปกรณ์มาตรฐานที่ต้องมีในทุกเมนบอร์ด เมนบอร์ดรุ่นใหม่มัก
มีอุปกรณ์อื่นๆ เสริมขึ้นมาเพื่อขยายขีดความสามารถ เช่นสามารถสั่งเปิดจากเครื่อง
อื่นในเครือข่ายหรือควบคุมอุปกรณ์ชนิดอื่นได้จากระยะไกลมีดังต่อไปนี้

	IrDA Infrared Connector
	เรียกย่อว่า IR มีลักษณะเป็นเข็มโลหะยื่นออกมาจากเมนบอร์ดจำนวน 5 Pin 
สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ถูกควบคุมการทำงานด้วยลำแสงอินฟราเรด ซึ่งเป็นอุปกรณ์ไร้
สายเช่น เครื่องปาล์ม เป็นต้น ในการใช้งานผู้ใช้จะต้องซื้อขั้วต่อสำหรับเสียบลงบนเข็ม
โลหะนี้มาใช้เพิ่มเติมซึ่งขั้วต่อนี้จะมีตัวรับ-ส่งสัญญาณอินฟราเรดเพื่อทำงานกับอุปกรณ์
ไร้สายภายนอกการที่จะใช้คุณสมบัติของอุปกรณ์ประเภทนี้ได้ ต้องเข้าไปกำหนดค่าใน
เมนูไบออสของเครื่องให้ Enable เป็นเสียก่อน

	พอร์ต IEEE1394 
	พอร์ต IEEE1394 สร้างขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับตัดต่อดิจิตอลวีดีโอ โดยเฉพาะ
จึงมีความเร็วสูงมาก ในการใช้งานจะต้องมีการ์ด Controller สำหรับเสียบบนสล็อต
แบบ PCI เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกผ่านทางสายสัญญาณอีกเส้นหนึ่ง ซึ่งอาจมี 
4Pin หรือ 6Pin ก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าอุปกรณ์ตัวใด ต้องการไฟเลี้ยงจะใช้สาย 6Pin ถ้าไม่
ต้องการก็ใช้ 4Pin 

	Wake-Up on LAN Connector
	มีลักษณะเป็นขั้วรับบนเมนบอร์ดสำหรับต่อเชื่อมกับการ์ด LAN ที่สนับสนุน
คุณสมบัตินี้ด้วยโดยสังเกตได้จากจะมีสายสัญญาณ 2 สายต่อเชื่อมออกมาจากตัวการ์ด
โดยนำปลายสายอีกด้านหนึ่งมาเสียบลงบนขั้วต่อนี้ แต่ก่อนจะใช้คุณสมบัตินี้ได้ต้องเปิด
การใช้ค่านี้ในเมนูไบออสในหัวข้อ Wake-Up on LAN Connector ให้เป็น Enable 
เสียก่อนและต้องใช้กับเคสที่มีแหลงจ่ายไฟมากพอ โดยเมื่อใช้คุณสมบัตินี้แล้ว เราจะ
สามารถเปิดเครื่องผ่านทางระบบเครือข่ายได้

	Modem Wake Up Connector
	คอนเน็คเตอร์นี้ใช้ร่วมกับการ์ดโมเด็มแบบติดตั้งภายในที่สนับสนุนคุณสมบัติ
นี้เราจะต้องไปตั้งค่าในเมนูไบออสในหัวข้อ "Resume by Alarm" ให้เป็น Enable 
เสียก่อนจึงจะใช้คุณสมบัตินี้แต่ก็เช่นกันจะต้องใช้กับเคสที่มีแหล่งจ่ายไฟเพียงพอ ในการ
ใช้คุณสมบัตินี้ให้ต่อสายสัญญาณโทรศัพท์บ้านเข้ากับพอร์ตท้ายการ์ดโมเด็มและเมื่อมี
สายสัญญาณโทรศัพท์ผ่านเข้ามาทางการ์ดโมเด็มก็จะเป็นการเปิดเครื่องเพื่อทำงาน
ต่อไป

เมนบอร์ดสำหรับค่ายต่างๆ



	เมนบอร์ดสำหรับ Pentium III และ Celeron
	เมนบอร์ดสำหรับ Pentium III และ Celeron ก็คือเมนบอร์ดที่ใช้Socket 370
ทั้งหลายโดยเมนบอร์ดที่รองรับ Pentium IIIได้ก็จะรองรับ Celeronด้วย ซึ่งก็คือจะต้อง
เป็นเมนบอร์ดที่มีความเร็วบัสสูงสุดได้ถึง 133MHz รองรับSDRAM PC1600 กับ PC
2100ในขณะที่ Celeron ต้องการเพียง 66 MHzในรุ่นที่ความเร็วต่ำกว่า 800 MHz จึง
สามารถใช้กับเมนบอร์ดที่ราคาถูกกว่าได้ ปัจจุบันมีจุดที่ต้องการคำนึงถึงคือ ซีพียู
Pentium IIIรุ่นที่มีรหัสว่า Tualatin ซึ่งใช้ชื่อรุ่นมีตัวท้ายกำกับด้วยตัว A ได้แก่ 1.13 A,
1. 2A เป็นซีพียูรุ่นใหม่ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 0.13 ไมครอน จึงจำเป็นจะต้องใช้
ชิปเซ็ตรุ่นใหม่ที่รองรับซีพียูนี้  ไม่สามารถนำไปใช้กับเมนบอร์ดเก่าๆได้ ในการเลือกซื้อ
เมนบอร์ดจึงควรระมัดระวังเรื่องนี้ด้วย

	เมนบอร์ดสำหรับ Pentium 4
	เมนบอร์ดสำหรับ Pentium 4 จะมีสองแบบ Socket423 กับ Socket478 โดย
Socket423ใช้กับ Pentium 4 รุ่นแรก มีความเร็วไม่เกิน 2GHz สังเกตได้จากช็อกเก็ตมี
ขนาดใหญ่มากและรองรับเฉพาะ RDRAM เท่านั้น(เว้นแต่ว่าชิปเซ็ต P4X266 ของ VIA 
จะได้รับการยอมรับก็จะมี DDR-SDRAM ด้วย)โดยจะต้องใส่ครั้งละ 1 คู่เสมอ บอร์ดรุ่น
นี้กำลังล้าสมัย และจะตกรุ่นไปในที่สุด และจะมาแทนที่บอร์ดที่ใช้ Socket478 ที่มีขนาด
ช็อกเก็ตเล็กลง (ช็อกเก็ตมีขนาดเล็กลงเนื่องจากเป็นแบบBGA)ในขณะที่ฐานสำหรับ
ฮีทซิงค์และพัดลมยังคงมีขนาดเท่าเดิมและจะมีทั้งที่เป็น RDRAM,SDRAM, และ
DDR-SDRAM

	เมนบอร์ดสำหรับAthlonและDuron
	เมนบอร์ดสำหรับAthlonก็รองรับ Duronด้วยเช่นกัน ข้อแตกต่างคือ Athlon
รุ่นใหม่จะมีแบบที่ใช้บัสความเร็ว 266 MHz ด้วย โดยAthlon รุ่นนี้จะมีตัวคูณที่ลดลง
ทำให้เมื่อนำไปใช้กับเมนบอร์ดที่รองรับเพียงแค่บัส200 MHzก็จะทำงานได้ช้าลง 
เมนบอร์ดสำหรับAthlonรุ่นใหม่ๆจะมีทั้งที่รองรับเฉพาะ SDRAM,รองรับเฉพาะ
DDR-SDRAMและที่รองรับได้ทั้ง SDRAM และDDR-SDRAMทั้งที่ก็ขึ้นอยู่กับชิปเซ็ต
ที่ใช้และการออกแบบเมนบอร์ดแต่ละรุ่น แต่ทั่งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ใช้ Socket A ด้วยกัน
ทั้งสิ้น โดย Socket Aนี้คาดว่าจะยังคงใช้อยู่ต่อไปอีกนาน

	เมนบอร์ดสำหรับ VIA C3 
	VIA C3 ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับ Socket 370 ดังนั้นเมนบอร์ดสำหรับ
Pentium III ทั่วๆ ไปจึงควรใช้งานได้ แต่ถ้าเป็นเมนบอร์ดเก่าก็จะสามารถอัพเดท
BIOS ให้รู้จักและใช้งานได้เช่นกัน
	

อุปกรณ์เสริมอื่นๆ บนเมนบอร์ด


	เนื่องจากอุปกรณ์มาตรฐานที่ต้องมีในทุกเมนบอร์ด เมนบอร์ดรุ่นใหม่มัก
มีอุปกรณ์อื่นๆ เสริมขึ้นมาเพื่อขยายขีดความสามารถ เช่นสามารถสั่งเปิดจากเครื่อง
อื่นในเครือข่ายหรือควบคุมอุปกรณ์ชนิดอื่นได้จากระยะไกลมีดังต่อไปนี้

	IrDA Infrared Connector
	เรียกย่อว่า IR มีลักษณะเป็นเข็มโลหะยื่นออกมาจากเมนบอร์ดจำนวน 5 Pin 
สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ถูกควบคุมการทำงานด้วยลำแสงอินฟราเรด ซึ่งเป็นอุปกรณ์ไร้
สายเช่น เครื่องปาล์ม เป็นต้น ในการใช้งานผู้ใช้จะต้องซื้อขั้วต่อสำหรับเสียบลงบนเข็ม
โลหะนี้มาใช้เพิ่มเติมซึ่งขั้วต่อนี้จะมีตัวรับ-ส่งสัญญาณอินฟราเรดเพื่อทำงานกับอุปกรณ์
ไร้สายภายนอกการที่จะใช้คุณสมบัติของอุปกรณ์ประเภทนี้ได้ ต้องเข้าไปกำหนดค่าใน
เมนูไบออสของเครื่องให้ Enable เป็นเสียก่อน

	พอร์ต IEEE1394 
	พอร์ต IEEE1394 สร้างขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับตัดต่อดิจิตอลวีดีโอ โดยเฉพาะ
จึงมีความเร็วสูงมาก ในการใช้งานจะต้องมีการ์ด Controller สำหรับเสียบบนสล็อต
แบบ PCI เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกผ่านทางสายสัญญาณอีกเส้นหนึ่ง ซึ่งอาจมี 
4Pin หรือ 6Pin ก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าอุปกรณ์ตัวใด ต้องการไฟเลี้ยงจะใช้สาย 6Pin ถ้าไม่
ต้องการก็ใช้ 4Pin 

	Wake-Up on LAN Connector
	มีลักษณะเป็นขั้วรับบนเมนบอร์ดสำหรับต่อเชื่อมกับการ์ด LAN ที่สนับสนุน
คุณสมบัตินี้ด้วยโดยสังเกตได้จากจะมีสายสัญญาณ 2 สายต่อเชื่อมออกมาจากตัวการ์ด
โดยนำปลายสายอีกด้านหนึ่งมาเสียบลงบนขั้วต่อนี้ แต่ก่อนจะใช้คุณสมบัตินี้ได้ต้องเปิด
การใช้ค่านี้ในเมนูไบออสในหัวข้อ Wake-Up on LAN Connector ให้เป็น Enable 
เสียก่อนและต้องใช้กับเคสที่มีแหลงจ่ายไฟมากพอ โดยเมื่อใช้คุณสมบัตินี้แล้ว เราจะ
สามารถเปิดเครื่องผ่านทางระบบเครือข่ายได้

	Modem Wake Up Connector
	คอนเน็คเตอร์นี้ใช้ร่วมกับการ์ดโมเด็มแบบติดตั้งภายในที่สนับสนุนคุณสมบัติ
นี้เราจะต้องไปตั้งค่าในเมนูไบออสในหัวข้อ "Resume by Alarm" ให้เป็น Enable 
เสียก่อนจึงจะใช้คุณสมบัตินี้แต่ก็เช่นกันจะต้องใช้กับเคสที่มีแหล่งจ่ายไฟเพียงพอ ในการ
ใช้คุณสมบัตินี้ให้ต่อสายสัญญาณโทรศัพท์บ้านเข้ากับพอร์ตท้ายการ์ดโมเด็มและเมื่อมี
สายสัญญาณโทรศัพท์ผ่านเข้ามาทางการ์ดโมเด็มก็จะเป็นการเปิดเครื่องเพื่อทำงาน
ต่อไป



ส่วนประกอบของ mainboard

posted on 25 Sep 2008 19:55 by tumcomza



AGP Slot (Accelerator Graphic Port)

        
  เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับติดตั้งการ์ดแสดงผล หรือการ์ดจอเท่านั้น สล็อตเอจีพีจะมีสีน้ำตาล ตำแหน่งจะอยู่ด้านบนของสล็อต พีซีไอ และอยู่ใกล้กับตำแหน่งของซ็อคเก็ตที่ติดตั้งซีพียู เหตุผลที่ใช้ติดตั้งเฉพาะการ์ดแสดงผล ก็เนื่องจากระบบบัสแบบ PCI ที่ใช้กันอยู่เดิมนั้น ไม่สามารถตอบสนองการใช้งาน ที่ต้องการความรวดเร็วในการแสดงผลสูงๆ อย่างเช่น เกมสามมิติ โปรแกรมกราฟิกประเภทสามมิติ ออกแบบ บัสแบบเอจีพีหรือสล็อตแบบเอจีพีรุ่นใหม่จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงขึ้น ซึ่งมีข้อสังเกตๆ ง่ายคือ 2X 4X และล่าสุด 8X ตัวเลขยิ่งสูงมากยิ่งเร็วขึ้น


ATX Power Connector

         
 ขั้วต่อสายไฟจากพาวเวอร์ซัพพลายเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งเป็นขั้วต่อแบบ ATXโดยที่พาวเวอร์ซัพพลาย จะมีสายไฟหนึ่งชุดเอาไว้ต่อเข้ากับเมนบอร์ด และด้านหนึ่งของขั้วต่อจะมีสลักล็อกสายไฟ ป้องกันไม่ให้สายไฟ หลุดจากเมนบอร์ดได้ง่าย
 
BIOS (Basic Input Output )

         
 เป็น CHIP IC ชนิดหนึ่งที่อยู่บนเมนบอร์ด ภายในจะมีโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบค้นหาอุปกรณ์ประเภทฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดิสก์ไดร์ฟ ที่ติดตั้งเข้าไป ทุกครั้งที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่อยู่ในไบออส จะเริ่มตรวจสอบการทำงานของ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น การทำงานของเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แรม การ์ดจอ คีย์บอร์ด ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Power on Self Test (Post) ในกรณีที่มีอุปกรณ์เสียหรือผิดปกติก็จะรายงานให้ทราบ นอกจากนี้ไบออสยังมีคำสั่งสั่งให้เครื่อง คอมพิวเตอร์บูตเข้าสู่วินโดวส์ หรือระบบปฏิบัติการอื่น ที่ติดตั้งเอาไว้ด้วย ในรูปนี้เป็นไบออสของ AMI ซึ่งไบออสมีหลายยี่ห้อด้วยกัน เช่น AWARD, PHEONIX, COMPAQ, IBM ซึ่งจะมี ความแตกต่างกันบ้างในเรื่องของวิธีการเข้าไปตั้งค่าการทำงานของไบออส รวมทั้งรูปแบบเมนูของไบออส ส่วนเมนบอร์ด ที่ใช้จะมีไบออสยี่ห้อไหน และตำแหน่งติดตั้งอยู่ที่ไหนบนเมนบอร์ดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากคู่มือของเมนบอร์ด
 
CMOS Battery

         
 แบตเตอรี่เบอร์ CR2032 เป็นแบตเตอรี่ที่จ่ายกระแสไฟให้กับ CMOS เพื่อเก็บข้อมูลในไบออส เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม วันเวลา ถ้าหากแบตเตอรี่หมดอายุจะทำให้ข้อมูลในไบออสหายไป ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามาร ตรวจสอบ ได้ว่ามีฮาร์ดดิสก์ มีซีดีรอมต่อพ่วงอยู่หรือเปล่า ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานประมาณสองหรือสามปี หากต้องการเปลี่ยนก็หาซื้อได้ตามร้านนาฬิกาหรือร้านถ่ายรูป
 
CPU Socket

        
  ใช้สำหรับติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด เมนบอร์ดที่ใช้กับซีพียูของอินเทลคือPentium 4 และ Celeron จะเรียกซ็อคเก็ตว่า SOCKET 478 ส่วนเมนบอร์ดสำหรับซีพียูAMD นั้นจะมีซ็อคเก็ตแบบ SOCKET 462 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า SOCKET A จุดสังเกตว่าเมนบอร์ดเป็นซ็อคเก็ตแบบใดนั้นก็ดูจากชื่อที่พิมพ์ไว้บนซ็อคเก็ต ส่วนความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือรอยมาร์ค ที่มุมของซ็อคเก็ต ถ้าเป็นซ็อคเก็น 478 จะมีรอยมาร์คอยู่ที่มุมหนึ่งด้าน ส่วนซ็อคเก็ต 462 จะมีรอยมาร์คที่มุมสองด้าน โดยรอยมาร์คจะตรงกับตำแหน่งของซีพียู เพื่อให้คุณติดตั้งซีพียูเข้ากับซ็อคเก็ตได้อย่างถูกต้อง
 
Floppy Disk Connector

         
 คอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายแพเข้ากับ Disk Drive ซึ่งเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ไว้ให้หนึ่งช่อง ซึ่งก็เพียงพอต่อการ ใช้งาน เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะติดตั้งดิสก์ไดร์ฟเพียงแค่หนึ่งไดร์ฟเท่านั้น จุดสังเกตก็คือจะมีข้อความว่า FLOPPY หรือเมนบอร์ดบางรุ่นจะเป็นตัวย่อว่า FDD พิมพ์กำกับอยู่ ส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือที่ช่องคอนเน็คเตอร์จะมี Pin หรือเข็มอยู่ 33 อัน โดยด้านหนึ่งจะมีคำว่า PIN 1 พิมพ์กำกับอยู่ด้วย เมื่อต้องการต่อสายแพเข้ากับคอนเน็คเตอร์ จะต้องเอาด้านที่มีสีแดงหรือสีน้ำเงินมาไว้ที่ตำแหน่ง PIN 1
 
IDE Connector

        
  เป็นคอนเน็คเตอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อสายแพกับฮาร์ดดิสก์แบบ IDE รวมถึงอุปกรณ์จำพวกไดร์ฟอ่านเขียนข้อมูล เช่น ซีดีรอม ดีวีดี ซิฟไดร์ฟ โดยเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ IDE อยู่สองชุดด้วยกัน เรียกว่า IDE 1 กับ IDE 2 แต่ละคอนเน็คเตอร์ จะรองรับอุปกรณ์ได้สองชิ้น ซึ่งหมายถึงว่าคุณจะต่อฮาร์ดดิสก์รวมทั้งซีดีรอมได้สูงสุดแค่สี่ชิ้น ซึ่งอาจจะเป็นฮาร์ดิสก์ สองตัวกับไดร์ฟ CD-RW และไดร์ฟ DVD อีกอย่างละหนึ่ง เช่นเดียวกันกับ FDD Connector ก็คือจะมีตัวอักษรพิมพ์กำกับว่าด้านใดคือ PIN 1 เพื่อให้ต่อสายแพเข้าไปอย่างถูกต้อง แต่ IDE Connector จะมีจำนวนพินมากกว่าคือ 39พิน (ในรูปคือที่เห็นเป็นสีแดงกับสีขาว)
 
PCI Slots (Peripherals component interconnect)

         
 สล็อตพีซีไอ เป็นช่องที่เอาไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ติดตั้งการ์ดSCSI การ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค โมเด็มแบบ Internal เมนบอร์ดโดยส่วนใหญ่จะมีสล็อตพีซีไอเป็นสีขาวครีม แต่ก็มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่บางรุ่นที่เพิ่มสล็อตพีซีไอ โดยใช้สีแตกต่าง เช่น สีน้ำเงิน เพื่อใช้ติดตั้งการ์ดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ สล็อตแบบพีซีไอนั้นถูกออกแบบมาแทนสล็อตแบบ VL ซึ่งทำงานได้ช้า การติดตั้งอุปกรณ์ทำได้ยาก เนื่องจากต้องเซ็ตจัมเปอร์ แต่พีซีไอนั้นจะเป็นระบบ Plug and Play ที่ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่ายกว่า อุปกรณ์บางอย่าง เช่น การ์ดเสียง เมื่อติดตั้งแล้วโอเอส จะรู้จักทันทีหรือเพียงแค่ลงไดรเวอร์เพิ่มเติมเท่านั้น อนึ่งสล็อตแบบพีซีไอนั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า PCI Busซึ่งก็หมายถึง เส้นทางที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเมนบอร์ดกับอุปกรณ์ต่อพ่วง โดยบัสแบบจะทำงานในระบบ 32 บิต

 
RAM Sockets

         
 เป็นช่องที่ใช้สำหรับติดตั้งแรมเข้าไป เมนบอร์ดแต่ละรุ่นจะมีช่องสำหรับติดตั้งแรมไม่เท่ากัน บางรุ่นอาจจะมีแค่สอง บางรุ่นมีสาม บางรุ่นมีสี่ จำนวนช่องถ้ามีเยอะก็จะทำให้คุณเพิ่มแรมได้มากขึ้น ซ็อคเก็ตที่ใช้ติดตั้งแรมยังแบ่งออกไปตามชนิดของแรมด้วย ถ้าเป็นเมนบอร์ดที่ใช้แรมแบบ DDR จะมีรอยมาร์ค อยู่ตรงกลางหนึ่งช่อง ซึ่งจะตรงกับตำแหน่งรอยมาร์คที่แรม
 
System Panel Connector

         
 สิ่งที่คุณจะสังเกตุเห็นก็คือกลุ่มเข็มที่โผล่ออกมาเหมือนเสาเข็ม สำหรับ System Panel นั้นเป็นจุดที่ใช้ต่อสายสวิทช์ ปิดเปิดเครื่อง (Power Switch) สายไฟปุ่มรีเซ็ท (Reset Switch) ไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ (HDD LED) ลำโพงภายในตัวเครื่อง (Speaker) และสวิทช์ล็อกการทำงานของคีย์บอร์ด (Keyboard Lock) โดยสวิทช์หรือ หลายไฟเหล่านี้จะติดอยู่กับเคสเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าคุณไม่ต่อสายไฟจากเคสเข้ากับ System Panel สวิทช์เปิดเครื่อง หรือไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ก็จะไม่ติด
 
PS/2 Mouse, PS/2 Keyboard Port

         
 เป็นพอร์ต์ที่ใช้สำหรับต่อสายเม้าส์กับสายคีย์บอร์ดเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเรียกว่าพีเอสทูเม้าส์หรือพีเอสทูคีย์บอร์ด ซึ่งพอร์ตจะมีรูกลมหกรู แล้วก็รูสี่เหลี่ยมหนึ่งรู ซึ่งปลายสายคีย์บอร์ดหรือเม้าส์ก็จะมีเข็มที่ตรงกับตำแหน่งของรูที่พอร์ตด้วย การเสียบสายเม้าส์และคีย์บอร์ดเข้าไป ต้องระวังให้เข็มตรงกับรู สำหรับพอร์ตเม้าส์และคีย์บอร์ดนั้นจะใช้ Color Key แสดงเอาไว้ สีเขียวคือต่อสายเม้าส์ ส่วนสีน้ำเงินต่อสายคีย์บอร์ด นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตุอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อประกอบเมนบอร์ดเข้ากับเคส ที่เคสจะมีสัญลักษณ์รูปเม้าส์กับรูปคีย์บอร์ด ติดอยู่ เพื่อให้ต่อสายเม้าส์และคีย์บอร์ดได้ถูกต้อง
 


USB Port (Universal Serial Bus)

          
พอร์ตสำหรับต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่มีพอร์ตแบบยูเอสบี เช่น พรินเตอร์ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอล ซีดีรอมไดร์ฟ ซิพไดร์ฟ เป็นต้น เมนบอร์ดรุ่นใหม่จะมีพอร์ตยูเอสบีเพิ่มมาอีกเรียกว่าพอร์ต USB 2.0 ซึ่งรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม เมื่อคุณต้องซื้ออุปกรณ์ต่อพ่วง ควรตรวจสอบด้วยว่าอุปกรณ์นั้นเชื่อมต่อกับพอร์ตยูเอสบีรุ่นเก่า หรือว่าต้องใช้ร่วมกับพอร์ต ยูเอสบี 2.0 เพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ซื้อมานั้นจะทำงานได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ


 



Parallel Port

         
 พอร์ตพาราเรล เป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 25 รู สำหรับต่อสายพรินเตอร์หรือสแกนเนอร์ที่มีพอร์ตแบบพาราเรล ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้ต่อกับเครื่องพรินเตอร์มากกว่า ซึ่งบางคนจะเรียกว่าพรินเตอร์พอร์ต โดยส่วนใหญ่พอร์ตพาราเรลจะมีกับเครื่อง พรินเตอร์รุ่นเก่า หรือในเครื่องพรินเตอร์ระดับกลางๆ ขึ้นไป
 


Serial Port

         
 พอร์ตแบบตัวผู้ที่มีขาสัญญาณอยู่ ขา เรียกว่าคอมพอร์ต (COM Port) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับต่อโมเด็ม เม้าส์ หรือจอยสติ๊ก ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ใช้พอร์ตนี้แทบไม่มีให้เห็น เนื่องจากหันไปใช้พอร์ตแบบ USB เป็นส่วนใหญ่
 


Video Port

        
  พอร์ตสำหรับต่อสายสัญญาณภาพ กับจอคอมพิวเตอร์ ลักษณะของพอร์ตจะเป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 15 รู สำหรับพอร์ตนี้ จะมีอยู่เฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นที่รวมเอาการ์ดแสดงผลเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย (VGA Onboard)


 


IEEE1394 Port

        
  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า FireWire (บริษัทโซนี่เรียกว่า I-Link) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งก็มีในเมนบอร์ดบางรุ่น พอร์ตนี้จะใช้สำหรับต่อพ่วงกับ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอลระดับไฮเอนด์ กล้องดิจิตอลวิดีโอ ฮาร์ดดิสก์ที่มีพอร์ตแบบ Firewire โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ต่อกับ กล้องดิจิตอลวิดีโอ เนื่องจากการที่ สามารถควบคุมการทำงานของกล้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง
 
Line in / Line out / Microphone Jack

        
  สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ซาวน์ดการ์ดจะถูกรวมเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย ที่เรียกกันว่า Sound on Board จุดสังเกตก็คือที่เมนบอร์ดจะมีช่องสำหรับต่อไมโครโฟน ลำโพง แล้วก็เครื่องเล่นเทป ทำให้ไม่ต้องซื้อซาวน์ดการ์ดเพิ่ม อย่างไรก็ดีถ้าคุณต้องการคุณภาพเสียงที่ดีกว่า หรือต้องการใช้เครื่องคอมกับการทำดนตรี หรืองานตัดต่อวิดีโอ ซาวน์การ์ดแบบติดตั้งเพิ่มก็ยังจำเป็น  


 









เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลัก ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากเพราะเป็นที่อยู่ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สำคัญหลายอย่างเช่น CPU, RAM , CACHE, CHIP SET เมนบอร์ดจะมีอุปกรณ์ที่สำคัญที่จะเป็นตัวควบคุมหรือกำหนดคุณสมบัติ ของเมนบอร์ดคือชิปเซ็ต (CHIP SET) บางครั้งจะมีอุปกรณ์ต่างๆมากมายกว่านี้เพิ่มเข้าไปเช่น การ์ดจอ การ์ดแลน การ์ดเสียงหรือโมเด็ม ซึ่งลักษณะการรวมอุปกรณ์ต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นจึงเรียกว่ามีการ์ด จอออนบอร์ด  ลักษณะของเมนบอร์ดจะเหมือนดังรูป ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมายที่วางอยู่อย่างเป็นระเบียบ รวมทั้งยังมีลายทองแดงเล็กๆ โยงใยเต็มไปหมด ดังนั้น ขณะที่เราถอด หรือใส่อุปกรณ์ เช่น ถอด CPU ต้องระวังเป็นพิเศษอย่าให้ไขควง หรือวัสดุแหลมคมไปโดนแผ่นวงจรที่มีลายทองแดงอยู่ เพราะหากลายทองแดงนี้โดนกระแทกหรือขาด ก็ยากที่จะต่อให้กลับเข้าไปใหม่ได้ เพราะทุกอย่างมันเล็กมาก ดังนั้นเราควรใช้ความระมัดระวังให้มาก ก่อนที่จะลงมือทำอะไรสักอย่าง...ต้องรอบคอบครับ 
เราแบ่งประเภทของเมนบอร์ดอย่างไร ?
เราสามารถแบ่งประเภทของเมนบอร์ดได้ตามรุ่น หรือลักษณะรูปร่างของซีพียูก็ได้หรือแบ่งตามประเภทของแหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) รวมทั้ง Case ก็ได้
1.        แบ่งตามรุ่นของซีพียู เช่น รุ่น 286,386,486,Pentium, Pentium MMX, Pentium II, Pentium III และ Pentium IV เป็นต้น
2.        แบ่งตามลักษณะ/รูปร่างของซีพียู เช่นเป็นแบบ ซ็อกเก็ต (Socket) ซึ่งจะมีทั้ง Socket 3, 4, 5, 6 7,8 หรือ Socket 370 Socket PPGA Socket A หรือ ซีพียู อีกแบบคือ แบบ Slot ซึ่งมีทั้ง Slot 1, Slot A เป็นต้น
3.        แบ่งตามข้อต่อของแหล่งจ่ายไฟที่จ่ายให้กับเมนบอร์ด ซึ่งข้อต่อดังกล่าวมีทั้งแบบ AT และ ATX ปัจจุบันนี้ได้มีการออกแบบเมนบอร์ดและเคสในรูปแบบใหม่ ในชื่อว่า ATX ดังที่คุณจะได้ยินว่าเมนบอร์ดแบบ ATX และเคสแบบ ATX มากขึ้นในอนาคต เพราะมันได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อลบจุดบกพร่องของการออกแบบเคสและ เมนบอร์ดแบบเก่า ซึ่งจะมีการจัดวางตำแหน่งต่างๆ บนเมนบอร์ดและเคสไม่เหมาะสมสำหรับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันสักเท่าไร เนื่องมาจากว่าคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีความเร็วในการทำงานสูง เมื่อความเร็วสูงขึ้นก็จะทำให้เกิด ปัญหา เรื่องความร้อนของพีซียูตามมา และเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์มีความเร็วสูง ก็จะต้องมีเมนบอร์ดที่สนับสนุนความเร็วที่ เพิ่มขึ้นมาด้วย ทำให้เป็นจุดกำเนิดของคำว่า ATX ขึ้นมาแต่ก็ยังมีผู้ที่นิยมเมนบอร์ดและเคสแบบ ATX กันไม่มากนักเหตุที่ ราคายังคงแพงกว่าเมนบอร์ดแบบธรรมดาอยู่มาก ซึ่งในอนาคตเมื่อมีผู้นิยมใช้มากขึ้น และมีผู้ผลิตเมนบอร์ดและเคสแบบ ATX มากขึ้น ก็น่าจะทำให้ราคาลดลงได้
เมนบอร์ดยี่ห้อไหนดี?
ปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายยี่ห้อ เช่น ASUS ,GIGABYTE ,MATSONIC ,MSI ,INTEL ,ABIT ,AOPEN, PC-100 AZZA ,ECS ,TYANถ้าจะระบุยี่ห้อไหนดีก็อาจจะลำบากสักหน่อย เพราะปัจจุบันแต่ละยี่ห้อก็ผลิตเมนบอร์ดกันหลายรุ่นและมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่เมนบอร์ดที่มีชื่อเสียงมานานก็อาจจะได้เปรียบยี่ห้ออื่นบ้างเช่น INTEL, ASUS เป็นต้น
ส่วนประกอบของเมนบอร์ด








1. ชุดชิพเซ็ต






ชุดชิพเซ็ตเป็นเสมือนหัวใจของเมนบอร์ดอีกที่หนึ่งเนื่องจากอุปกรณ์ตัวนี้จะมีหน้าที่หลักเป็นเหมือนทั้ง อุปกรณ์ แปลภาษา ให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดสามารถทำงานร่วมกันได้ และทำหน้าที่ควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้ตามต้องการ
2. หน่วยความจำรอมไบออส และแบตเตอรรี่แบ็คอัพ
 







ไบออส BIOS หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์

3. หน่วยความจำแคชระดับสอง    
หน่วยความจำแคชระดับสองนั้นเป็นอุปกรณ์ ตัวหนึ่งที่ทำหน้าเป็นเสมือนหน่วยความจำ บัฟเฟอร์ให้กับซีพียู โดยใช้หลักการที่ว่า การทำงานร่วมกับอุปกร์ที่ความเร็วสูงกว่า จะทำให้เสียเวลาไปกับการรอคอยให้อุปกรณ์
ที่มีความเร็วต่ำ ทำงานจนเสร็จสิ้นลง เพราะซีพียูมีความเร็วในการทำงานสูงมาก การที่ซีพียูต้องการข้อมูล
ซักชุดหนึ่งเพื่อนำไปประมวลผลถ้าไม่มีหน่วยความจำแคช
4.สล็อต
ขีดความสามารถของเมนบอร์ดขึ้นอยู่กับการมีสล็อต และลักษณะชนิดของสล็อต เพราะหากมีสล็อตหลายสล็อตก็หมายถึงการขยายหรือ
เพิ่มอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อื่นได้ แต่หากมีจำนวนสล็อตมาก ก็หมายถึงราคาของเมนบอร์ดก็สูงขึ้น ชนิดของสล็อตที่มีกับเมนบอร์ดประกอบด้วย
                4.1.PCI เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับเพิ่มฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ เช่น เพิ่มการ์ดเชื่อมต่อแลน การ์ดวิดีโอ การ์ดเสียง จำนวนสล็อต PCI มี   แตกต่างกัน โดยทั่วไปจะมีให้ตั้งแต่ ถึง สล็อต
                4.2.DIMM เป็นช่องใส่หน่วยความจำ ซึ่งปกติใช้ได้กับ DDRAM แต่ในบางเมนบอร์ดจะมีสล็อตที่เป็น SDRAM โดยเฉพาะนั่น   หมายถึง นำ DDRAM มาใช้ไม่ได้ แต่ถ้าเป็น DIMM สล็อตจะใช้ได้ทั้ง SDRAM และ DDRAM โดยปกติจะมีช่องใส่หน่วยความจำ  แบบนี้อยู่ ถึง ช่อง เพราะหน่วยความจำที่ใช้มีความจุต่อการ์ดสูงขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้ช่องมากเหมือนเมื่อก่อน
                4.3.AGP ย่อมาจาก Accerelator Graphic Port เป็นสล็อตสำหรับใส่การ์ดจอภาพแสดงผล ซึ่งเน้นในเรื่องความเร็วของการแสดงผลกราฟิกส์ ปัจจุบันมีผู้ผลิตการ์ดแสดงผลที่ต้องการแสดงผลได้เร็ว โดยเฉพาะพวกเกม 3D เทคโนโลยี AGP จึงต้องทำให้การถ่ายโอนข้อมูลแสดงผลเป็นไปอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ความเร็วสูงขึ้น โดยวัดความเร็วเป็นจำนวนเท่าของมาตรฐานปกติ    เช่น 4x คือ สี่เท่า
                4.4.Ultra DMA/100 DMA ย่อมาจาก Direct Memory Access เป็นช่องทางของการถ่ายโอนหน่วยความจำกับอุปกรณ์อินพุตเอาท์พุตที่มีการโอนย้ายข้อมูลเป็นบล็อก และต้องการความรวดเร็ว พอร์ตที่ใช้ DMA แบบนี้คือ ฮาร์ดดิสค์ ฟลอปปี้ดิสค์ ซีดีและดีวีดี เป็นต้น ช่องทางนี้
จึงเป็นช่องทางเชื่อมกับฮาร์ดดิสค์หรือซีดีรอม ถ้ามี Ultra DMA สองช่องก็หมายถึงมีสายเชื่อมไปยังฮาร์ดดิสค์ที่จะต่อเข้า        เมนบอร์ดได้สอง
เส้น แต่ละเส้นต่อได้สองไดร์ฟ นั่นหมายถึงใส่ฮาร์ดดิสค์ได้สี่ไดร์ฟ
5.พอร์ตมาตรฐานต่าง ๆ บนเมนบอร์ดจะมีการสร้างพอร์ตมาตรฐานต่าง ๆ เช่น USB พอร์ต ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า พอร์ต อาจจะเป็น ถึง พอร์ต พอร์ตขนานต่อเครื่องพิมพ์ พอร์ตอนุกรม (ปกติมีให้ 1-2 พอร์ต) พอร์ต PS/2 เมาส์ พอร์ต PS/2 คีย์บอร์ด พอร์ตมาตรฐานเหล่านี้กำลัง
เพิ่มพอร์ตพิเศษบางชนิดเข้าไปด้วย เช่น พอร์ต Fly wire พอร์ตเชื่อมต่อวิดีโอ ความเร็วสูง IEEE1394 พอร์ต SVideo
ขีดความสามารถเพิ่มเติมพิเศษ  พลังงาน เป็นการพัฒนาร่วมระหว่างไบออสกับฮาร์ดแวร์ให้มีโหมดพิเศษในการจัดการพลังงาน การปิดเปิด ตลอดจนการ Shutdown การเปิดเองตามการปลุกด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น Wake up on lan คือใช้แลนสั่งงานมาจากที่อื่นให้เครื่องเริ่มทำงานให้
การเพิ่มวงจรพิเศษ เพื่อให้ลดค่าใช้จ่ายภาพรวมจึงมีการสร้างวงจรพิเศษที่จำเป็นบางวงจรไว้บนเมนบอร์ดด้วย เช่น วงจรการ์ดเสียง วงจรการ์ดแลน การ์ดโมเด็ม หรืออุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ที่เคยมีเป็นการ์ดแยกต่างหาก ส่งท้าย เท่าที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นการแนะนำให้รู้จักกับลักษณะและคุณสมบัติของเมนบอร์ดโดยทั่วไป ซึ่งผู้สนใจสามารถหาข้อมูลได้   จากบริษัทผู้ผลิตเมนบอร์ดผ่านทางเว็บไซต์ได้ บริษัทผู้ผลิตที่สำคัญได้แก่ ASUSTEK, ABIT, Aopen, FIC, DFI, IWILL, Elite Group, Tyan และ Micronics สำหรับราคามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อมีรุ่นใหม่มารุ่นเก่าก็จะมีราคาลดลงอย่างมาก ผู้สนใจลองเดินดูจากร้านค้าตามไอทีมอลต่าง ๆ จะเห็นความหลากหลายของเมนบอร์ดให้เลือกได้
Case สำหรับคอมพิวเตอร์
Power Supply และ Case สำหรับเมนบอร์ดก็เป็นอีกข้อหนึ่งครับที่ไม่ควรมองข้าง โดยทั่วไปแล้วคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ จะใช้ Case แบบ AT แต่ถ้าหากเป็นรุ่นใหม่ ๆ แล้วจะเป็นแบบ ATX นะครับ ข้อดีของ Case และ Power Supply แบบ ATX คือ การออกแบบให้มีการระบายความร้อนได้ดีกว่า และการใช้ Power Supply แบบใหม่ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานระบบ Power Management ต่าง ๆ ได้เช่นการตั้งเวลา เปิด-ปิด เครื่อง เป็นต้น และนอกจากนี้อย่าลืมว่า เมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ เดี๋ยวนี้ก็จะใช้กับ Case และ Power Supply แบบ ATX เป็นส่วนใหญ่หมดแล้วนะครับ สำหรับท่านที่คิดจะทำการ Upgrade เครื่องเดิมที่เป็น Case แบบ ATแต่หาเมนบอร์ดได้ยาก ก็ลองมองดูส่วนของ Case นี้ด้วยนะครับหากเป็นไปได้ก็อาจจะลงทุนซื้อ Case พร้อม Power Supply แบบ ATX ใหม่ไปเลย ราคาก็คงอยู่หลักพันต้น ๆ เท่านั้น ขนาดของ Power Supply รุ่นเก่า ๆ จะเป็น 200 วัตต์ หากเป็น Power Supply รุ่นใหม่ ๆ หน่อยก็จะเป็น 230-300 วัตต์ หรือสูงกว่านี้แล้ว ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกขนาดของ Power Supply ขนาดวัตต์สูง ๆ ไว้ก็ดี


แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)
               แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน เพราะถ้าไม่มี แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) แล้วนั้น คอมพิวเตอร์จะทำงานได้อย่างไร   แหล่งจ่ายไฟจะมีรูปทรงและการทำงานที่เป็นไปตามระบบปฏิบัติการของ mainboard เช่นกัน
                แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) แบบ ATX นั้นมีการทำงานที่ดีกว่าและเหนือ กว่าการทำงานด้วยแหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) แบบ AT เพราะการปิดเปิดเครื่อง ด้วยระบบ ATX นั้นจะมีการทำงานด้วย Software เป็นตัวกำหนดการทำงานสำหรับการ ปิดเปิดเครื่อง และเคส ATX นั้นจะมีการให้แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) มาให้ที่มาก กว่าแหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) แบบ AT ส่วนมากที่เคสแบบ ATX ให้มานั้นมักจะ อยู่ที่ 250 Watt ถึง 400 Watt ซึ่งเป็นพลังงานที่มากกว่าระบบ ATทำให้มีความเสถียรภาพมากขึ้นนั่นเอง
โมเด็ม(Modem)





เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อก (Analog Signal) ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) และในทางกลับกันก็แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก โดยเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับช่องทางการสื่อสาร กล่าวคือคอมพิวเตอร์จะประมวลผลลัพธ์ออกมาในรูปของดิจิตัล เมื่อต้องการส่งข้อมูลนี้ไปบนช่องทางการสื่อสาร เช่น ต่อเชื่อมผ่านทางสายโทรศัพท์ โมเด็มจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกเพื่อส่งผ่านไปบนสายโทรศัพท์ ในทางกลับกันเมื่อข้อมูลจากที่อื่นส่งมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา โมเด็มก็จะแปลงสัญญาณแอนะล็อกนั้นมาเป็นสัญญาณดิจิตัล เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้าใจได้
โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น ประเภทใหญ่ๆ คือ โมเด็มที่เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (External Modem) และโมเด็มที่เป็นแผงวงจรต่อพ่วงเข้ากับแผงวงจรหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Internal Modem)แต่ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ มักจะมีโมเด็มประกอบรวมกับแผงวงจรหลักภายในเครื่องอยู่แล้ว ผู้ใช้เพียงแต่เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับช่องเสียบด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็สามารถทำการติดต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตได้




การ์ดแลน

 



เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมฯเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องโดยผ่านสายแลน การ์ดแลนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถต่อพ่วงกับพอร์ตแทบทุกชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น ISA, PCI, USB, Parallel, PCMCIA และ Compact Flash ซึ่งที่เห็นใช้กันมากที่สุดก็จะเป็นแบบ PCI เพราะถ้าเทียบราคากับประสิทธิภาพแล้วถือว่าค่อนข้างถูก มีหลายราคา ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทจนถึงหลักพัน ส่วนแบบ USB, Parallel, PCMCIA ส่วนใหญ่จะเห็นใช้กันมากกับเครื่องโน๊ตบุ๊ค เพราะก็อย่างที่ทราบกันอยู่ว่าการติดอุปกรณ์ลงในพอร์ตภายใน ของเครื่องโน๊ตบุ๊คเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงจึงต้องอาศัยพอร์ตภายนอกดังที่กล่าวมา

VGA Card หรือ Display Adapter
 










                                                                                  Card VGA-AGP
มีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณ digital ให้เป็นสัญญาณภาพ โดยมี Chip เป็นตัวหลักในการประมวลการแปลงสัญญาณ ส่วนภาพนั้น CPU เป็นผู้ประมวลผล แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีการประมวลผลภาพนั้น VGA card เป็นผู้ประมวลผลเองโดย Chip นั้นได้เปลี่ยนเป็น GPU (Grarphic Processing Unit) ซึ่งจะมีการประมวลภาพในตัว Card เองเลย เทคโนโลยีนี้เป็นที่แพร่หลายมากเนื่องจากราคาเริ่มปรับตัวต่ำลงมาจากเมื่อก่อนที่เทคโนโลยีนี้เพิ่งเข้ามาใหม่ๆ โดย GPU ค่าย Nvidia เป็นผู้ริเริ่มการลุยตลาด

Slot เสียบการ์ดแบบต่างๆ
ตารางเปรียบเทียบ Slot
Slot
การส่งข้อมูล (Bit)
ความเร็ว (MHz)
AGP
64
66
PCI
32/64
33
VESA
32
33
MCA
32
10
EISA
32
8
ISA
16
8
                หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร  
 ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์(พีซี)

สำหรับขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์(พีซี)ในที่นี้ ประกอบด้วยหัวข้อหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
1.  การจัดเตรียมอุปกรณ์
2.  การเปิดฝาเคส
3.  การติดตั้งเมนบอร์ด
4.  การติดตั้งโปรเซสเซอร์
5.  การติดตั้งพัดลมระบายอากาศ
6.  การติดตั้งหน่วยความจำ
7.  การยึดแผงรองเมนบอร์ด
8.  การติดตั้งฮาร์ดดิสก์
9.  การติดตั้งเครื่องอ่านซีดี
10.  การติดตั้งดิสก์ไดร์ฟ
11.  การเสียบสายปลั๊กจากเพาเวอร์ลงในเมนบอร์ด และสายสวิต ซ์ต่าง ๆ
12.  การปิดฝาเครื่อง
การทดสอบเครื่องคอมพิวเตอร์

หลังจากที่ดำเนินการประกอบเครื่องเป็นที่เสร็จสรรพแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ  การทดสอบว่าเครื่องที่ประกอบนั้นสามารถใช้งานได้หรือไม่ โดยจำเป็นต้องเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงพื่นฐานต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย
-          การเชื่อมต่อคีย์บอร์ด
-          การเชื่อมต่อเมาส์
-          การเชื่อมต่อจอภาพ
-          การเสียบปลักไฟเครื่องคอมพิวเตอร์ และจอภาพ